ยาตีกันเป็นอันตรายที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างยาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป รวมทั้งปฏิกิริยาที่อาจจะเกิดขึ้นจากยากับอาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ แอลกอฮอล์ หรือแม้กระทั่งการสูบบุหรี่ ทำให้การออกฤทธิ์ของยานั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ยาดูดซึมได้น้อยลง ยาถูกกำจัดออกได้ลดลง หรืออาจจะกระทบต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย เป็นต้น
ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษานั้นน้อยลง หรือรักษาไม่ได้ผล เกิดอาการไม่พึงประสงค์มากขึ้น หรืออาจเกิดอันตรายจากพิษที่เกิดขึ้นได้ จริงๆ แล้วคำว่ายาตีกัน บางทีอาจจะเรียกว่า “การเกิดปฏิกิริยากันระหว่างยา” ก็ได้
ทีนี้สาเหตุเกิดจากอะไร? ประการแรก เมื่อเรารับประทานยามากกว่าหนึ่งชนิดขึ้นไปก็มีโอกาสที่ยาจะเกิดปฏิกิริยาต่อกันได้แล้ว
พูดง่ายๆ ก็คือ อาจจะทำให้ยาตัวหนึ่งมีผลข้างเคียงกันมากขึ้นหรือทำให้ตัวหนึ่งลดฤทธิ์ลงไปได้ จริงๆ แล้วคำว่ายาตีกันเนี่ยไม่อยากให้จำกัดแค่ยากับยาทำปฏิกิริยากัน อยากให้รวมไปถึงยาทำปฏิกิริยากับอาหารที่เรารับประทานแล้วทำให้ยาตัวนั้นออกฤทธิ์ไม่ได้หรือออกฤทธิ์น้อยลง รวมทั้งเครื่องดื่ม สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพไปจนถึงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่เป็นประจำ เหล่านี้ก็มีผลต่อยาที่เรารับประทานเข้าไปเช่นกัน
โดยอาจจะมีการดูดซึม ต่อการเปลี่ยนแปลงยา ต่อการขจัดยา ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็มีผลต่อการรักษา แล้วก็อาจจะทำให้เกิดอาการไม่พึ่งประสงค์หรืออาการข้างเคียงมากขึ้น
คราวนี้ถ้าย้อนกลับไปถามว่า อ้าว! แล้วใครที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดยาตีกัน หากตอบแบบตรงไปตรงมาก็คนที่ใช้ยามากกว่าชนิดหนึ่งขึ้นไปนั่นแหละครับ กลุ่มคนเหล่านี้อย่างเช่น ผู้สูงอายุ เป็นต้น ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเป็นหลายโรคในเวลาเดียวกันถูกไหมครับ คุณอาจจะไปดูเพิ่มเติมได้ในเรื่องของการใช้ยายามชราบางคนอาจจะมีโรคความดันบวกโรคเบาหวาน และบางคนอาจจะมีโรคหัวใจบางอย่างเพิ่มขึ้น บางคนมีโรคความดัน โรคเบาหวาน และโรคทางกระดูกอีก ซึ่งมีความจำเป็นที่จะใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน
รวมถึงบุคคลที่มีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์หลายคน ก็เพราะมีหลายโรค ไปหาหมอผิวหนัง ไปหาหมอความดัน ไปหาหมอกระดูก เผลอๆ หมอทั้งหมดอยู่คนละที่ คนหนึ่งอยู่สุขุมวิท คนหนึ่งอยู่โรงพยาบาลแถวสาธร อีกคนอยู่ตรงศาลาแดง พระรามสี่
แล้วหมอท่านเวลาจะรักษาหรือให้ยา ก็ไม่ได้ทราบหรอกว่าอีกสองท่านที่อยู่สุขุมวิทและอยู่สาธรใช้ยาอะไรอยู่ เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นประเด็นว่า “แพทย์ผู้สั่งจ่ายยาไม่ทราบว่าคนไข้ใช้ยาอะไรอยู่” ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้
บางคนไม่ใช่แค่ยากับยาทำปฏิกิริยากัน “บางคนใช้ยาซ้ำ” คำว่าได้ยาซ้ำแปลว่ามีโอกาศจะเกิดพิษของยามากขึ้น เกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายจากยาเพิ่มขึ้น ในบางกรณีเรามีโรคประจำตัวอยู่ก็รับประทานยาเป็นประจำ แต่วันดีคืนดีอาจจะเป็นหวัดหรือว่ามีความเจ็บป่วยอะไรบางอย่างเฉพาะเรื่อง และมีความจำเป็นต้องรักษาในระยะสั้นๆ การรักษาครั้งใหม่หรือการหายามารับประทาน ก็มีโอกาสที่จะทำปฏิกิริยากับยาที่รับประทานอยู่แล้วได้เช่นกัน
กรณีของอาหารเสริมและผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายอย่าง บางทีเรากินจนเป็นกิจวัตรประจำวัน กินตั้งแต่ตอนสาวๆ ตอนนี้ย่างเข้าวัยหมดประจำเดือน สิ่งนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว จนไม่รู้ว่ามันเป็นยาหรือมันเป็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งของเหล่านั้นมันมีผลต่อยาที่รับประทานเข้าไปทั้งสิ้น อย่าคิดว่าอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพชนิดต่างๆ จะไม่มีผลต่อร่างกายในแง่ของการเกิดปฏิกิริยากันระหว่างยา เพราะมีโอกาสทั้งนั้นครับ
สมุนไพรก็เช่นกัน สามารถที่จะเกิดการตีระหว่างสมุนไพรกับยาที่เรารับประทาน กระทั่งน้ำผลไม้บางประเภท อันนี้ฟังดูแล้วคิดว่า เอ… จริงหรือ? จริงครับ มันมีโอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยากับยาที่เรารับประทาน ทำให้เป็นพิษหรือทำให้หมดฤทธิ์ได้
ระหว่างผู้ที่เดิมแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ กับผู้ที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ ร่างกายจะตอบสนองยาไม่เหมือนกันเพราะฉะนั้นเมื่อคนสูบบุหรี่รับประทานยาตัวหนึ่ง กับคนไม่สูบบุหรี่ที่รับประทานยาตัวเดียวกัน การบริหารจัดการก็ไม่เหมือนกัน
อีกกรณีหนึ่งคือ ยาอาจไปทำอันตรายให้กับโรคบางโรคได้คนที่มีโรคประจำตัวบางอย่างไม่ควรใช้ยาบางชนิด พูดง่ายๆ ก็คือ ยากับโรคอาจจะไม่มีปฏิกิริยากันได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่กินยาโดยไม่คำนึงถึงโรคประจำตัวต้องระวังพอสมควรนะครับ
คงไม่สามารถยกตัวอย่างได้หมด ในที่สุดแล้วก็อยากให้ทุกคนตระหนักไว้ว่ามันมีเรื่องนี้อยู่ ที่อาจจะเป็นปัญหาต่อการใช้ยา เพราะฉะนั้นถ้ามีการใช้ยาให้ไปพบแพทย์หรือเภสัชกร ก็อยากให้ทุกคนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และให้ข้อมูลกับแพทย์และเภสัชกรอย่างครบถ้วนว่าปัจจุบันนี้เราใช้ยาอะไรอยู่ เรามีความเจ็บป่วยอะไรอยู่ กินยาอะไรประจำอยู่ ใช้สมุนไพรอะไรอยู่ ใช้วิตามินอะไรเป็นประจำเพราะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ บางทีเรามองว่ามันไม่น่าจะเกิดปัญหาแต่จริงๆ แล้วมันอาจเกิดปัญหาได้
มีแผลในปากเรื้อรัง ระวังกลายเป็นโรคมะเร็งช่องปาก
” มะเร็ง ” ไม่ว่าจะเกิดที่อวัยวะส่วนไหนก็น่ […]
ยาตีกัน ภาค 3
คราวนี้อีกตัวอย่างหนึ่งที่ผมอยากเล่าให้ฟังคือเรื่องของย […]
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็นสำหรับเรื่องนี้.....